5 เทคนิครับมือเบรครถพัง/เบครแตกบนถนน ไม่เสี่ยงอุบัติเหตุ

วันนี้เรามาแชร์เคล็ดลับสำคัญ เมื่อเกิดเหตุการณ์เบรครถพัง/เบครแตกขึ้นมาอย่างกะทันหัน ควรมีวิธีการรับมืออย่างไรให้ปลอดภัย และสามารถควบคุมรถได้เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุร้ายแรง มาดูกันเลยว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้าง ไปดูกัน

ระบบเบรกรถยนต์มีกี่แบบ และทำงานยังไง?

ระบบเบรกรถยนต์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบดรัมเบรค และระบบดิสก์เบรค โดยแต่ละระบบเบรกมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. ระบบดรัมเบรค (Drum Brake) ใช้หลักการของแรงผลักเพื่อทำให้ล้อรถหยุด
    • ข้อดีคือสามารถเพิ่มแรงจับประกบกับฝาครอบเบรคได้อัตโนมัติ และใช้แรงเหยียบเบรคน้อย
    • ข้อเสียคือมีความร้อนสะสมสูง ถ่ายเทความร้อนได้ยาก และดูแลรักษายาก
  2. ระบบดิสก์เบรค (Disc Brake) มีผ้าเบรคหนีบกับจานเบรคเพื่อทำให้รถชะลอและหยุด
    • ข้อดีคือตอบสนองการเบรคได้ดีและรวดเร็ว ระบายความร้อนและน้ำได้ดี และบำรุงรักษาง่าย
    • ข้อเสียคือใช้แรงเหยียบเบรคมากกว่าระบบดรัมเบรค และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

5 ขั้นตอน รับมือเมื่อเบรครถพัง/เบรคแตก

  1. ตั้งสติ ควรรักษาสติสัมปชัญญะให้มั่นคง เพื่อประเมินสถานการณ์และควบคุมรถได้อย่างมีสติ
  2. เปิดไฟฉุกเฉิน เป็นการส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ใช้ถนนอื่นระมัดระวัง พยายามขับรถชิดเลนซ้ายทันที
  3. ยกเท้าออกจากคันเร่ง เพื่อลดความเร็วลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  4. ปรับเกียร์ลดลงเป็นระยะ ตามความเร็วที่ลดลง โดยไม่ควรลดเกียร์ทันทีจนถึงเกียร์ต่ำสุด
  5. ดึงเบรคมือค่อย ๆ จนสุด จะช่วยลดความเร็วได้ แต่ห้ามดึงเบรคมือขึ้นทันที

แม้จะมีวิธีรับมือเมื่อเบรครถพัง/เบรคแตก แต่ทางที่ดีคือการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก โดยการตรวจเช็คระบบเบรครถยนต์อย่างสม่ำเสมอ โดยมีวิธีดูแลเบรคเบื้องต้น ดังนี้

มีวิธีดูแลเบรครถยังไง?

การดูแลเบรคเบื้องต้น เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือเรื่องไม่คาดฝัน และใช้งานเบรคได้เต็มประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดูแลและตรวจเช็คระบบเบรคเบื้องต้น ดังนี้

  1. ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค ควรตรวจสอบระดับน้ำมันเบรคเป็นประจำทุกเดือน โดยดูจากถังเก็บน้ำมันเบรค ระดับน้ำมันควรอยู่ระหว่าง Min กับ Max
  2. สังเกตอาการผิดปกติ สังเกตอาการผิดปกติของเบรค เช่น เสียงเบรคดังผิดปกติ เบรคแล้วรู้สึกสั่น แป้นเบรคแข็งหรือต่ำลง ระยะทางในการเบรคยาวขึ้น
  3. เปลี่ยนผ้าเบรค ผ้าเบรคมีอายุการใช้งานจำกัด โดยทั่วไปควรเปลี่ยนผ้าเบรคทุก 25,000 – 40,000 กม. หรือเมื่อผ้าเบรคสึกหรอจนบาง ตามวิธีเช็คผ้าเบรครถยนต์
  4. เปลี่ยนน้ำมันเบรค น้ำมันเบรคควรเปลี่ยนถ่ายทุก 40,000 – 50,000 กม. หรือ 2 ปี
  5. ตรวจสอบจานเบรค ตรวจสอบสภาพของจานเบรคว่ามีรอยสึกหรอ แตกร้าว หรือบวมหรือไม่
  6. ทำความสะอาดเบรค ควรล้างทำความสะอาดเบรคเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากลุยน้ำหรือขับขี่บนถนนที่มีฝุ่นละอองเยอะ

การดูแลเบรคอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ระบบเบรคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ขับขี่ปลอดภัย ยืดอายุการใช้งานของระบบเบรค และแน่นอนว่าลดความเสี่ยงที่เบรครถพัง/เบรคแตก แบบนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะรับมือยังไงเพราะเราป้องกันำว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

แชร์บทความนี้