หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่สนใจ และคิดอยากจะเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน แต่ยังลังเลว่าซื้อรถไฟฟ้าดีไหมและอยากเปรียบเทียบกับรถน้ำมัน ทั้งประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรถยนต์น้ำมัน เราได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อมาฝากกัน ดังนี้
รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท?
“รถยนต์ไฟฟ้า” หรือ Electric Vehicle ที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า รถไฟฟ้า EV ยานพาหนะแห่งอนาคตจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปที่หลายคนคุ้นเคย โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะใช้พลังไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน แล้วเก็บพลังงานเหล่านั้นไว้ใน “แบตเตอรี่” ที่สามารถชาร์จได้ และสามารถแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าที่ว่า
ปัจจุบันรถไฟฟ้า EV ที่ได้รับความนิยม มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
- รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV)
รถยนต์ประเภทนี้มีระบบ “น้ำมันเชื้อเพลิง และระบบไฟฟ้า” เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด แต่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟจากภายนอก ทำให้วิ่งได้ไกลกว่าระบบไฮบริดแบบเดิม - รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV)
เป็นรถที่ใช้ “พลังงานผสมผสานระหว่างเชื้อเพลิงทั่วไป และพลังงานไฟฟ้า” มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่าแบบใช้เครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเมื่อมีการเหยียบเบรกรถ พลังงานบางส่วนจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่นั่นเอง - รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว (Plug-in Electric Vehicle: PEVs)
จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จะคล้ายกับแบบปลั๊กอิน ไฮบริด แต่มีขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่า แถมยังเป็น “แหล่งพลังงานหลักเพียงอย่างเดียว” เมื่อแบตหมดจะต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จประจุใหม่ นอกจากนี้ยังแยกย่อยได้อีก 2 ประเภท ดังนี้
- รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้วิ่งในระยะสั้น เหมาะกับการขับในละแวกใกล้เคียง เพราะมีช่วงการขับขี่ต่ำ และทำงานที่ความเร็วต่ำ
- รถยนต์ไฟฟ้าประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 100% ทำให้มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ และสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลต่อการชาร์จ 1 ครั้ง แต่ข้อเสียคือ “ระยะการวิ่งค่อนข้างจำกัด” ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ในการใช้งาน และเส้นทางที่ใช้เป็นหลัก
รถยนต์ไฟฟ้ากินไฟหรือไม่?
หากคุณอยากรู้ว่า “รถไฟฟ้า EV รุ่นหรือแบรนด์นั้น ๆ สามารถขับได้ไกลแค่ไหน” จะต้องดูที่ “อัตราการบริโภคพลังงานไฟฟ้า” เช่น 160Wh/km หมายถึง 160 วัตต์ หรือ 0.16 kWh/1 กิโลเมตร เทียบกับรถยนต์สันดาปทั่วไปจะเท่ากับ “กินน้ำมัน 16 ลิตร/100 กิโลเมตร” นั่นเอง หรือถ้าหากอยากจะคิดแบบ “หน่วยกิโลเมตร/ลิตร” เพียงแค่นำ 100 กิโลเมตร / 16 kWh = 6.35 กิโลเมตร/1 kWh นั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้ยังบอกได้ว่าอีก “ใน 1 การชาร์จ รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้กี่กิโล”
ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า 1 ครั้ง ถูกหรือแพงว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิง?
ประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า EV ช่วยให้ประหยัดได้มากกว่ารถยนต์ทั่วไปจริงมั้ย? การชาร์จแต่ละครั้งถูกกว่าการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงจริงหรือเปล่า ? เราได้รวบรวม “การคำนวณ” มาให้คุณคร่าว ๆ ดังนี้
การคำนวณอัตราค่าพลังงานน้ำมัน
- ราคาน้ำมันเฉลี่ยขึ้น-ลงในปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 40 บาท/ลิตร
- รถยนต์กินน้ำมันเฉลี่ยปริมาณ 16 km./ลิตร
- ทุก ๆ 1 กิโลเมตร จะมีค่าเชื้อเพลิง 2.5 บาท
- ใช้รถยนต์เดือนละ 2,000 km.
สรุปเสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เดือนละ 5,000 บาท
การคำนวณอัตราค่าไฟฟ้า ของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV
- ค่าไฟบ้านปกติ หน่วยละ 4.5888 บาท รวมค่า FT
- เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ EV แล้วชาร์จไฟที่บ้านในอัตรา TOU ของไฟฟ้านครหลวง หลัง 22.00 น. จะเหลือหน่วยละ 2.804 บาท รวมค่า FT
- รถยนต์ EV โดยเฉลี่ยกินไฟประมาณ 5 km./หน่วยไฟฟ้า ใช้ขับในเมืองไม่เกิน เดือนละ 2,000 กิโลเมตร
- ขับใช้งานในอัตราเดียวกัน เดือนละ 2,000 กิโลเมตร ทุก ๆ 1 กิโลเมตรจะเสียค่าไฟประมาณ 0.5608 บาท
สรุปเสียค่าไฟในการชาร์จเดือนละ 1,121 บาท
จะเห็นได้ชัดเลยว่าการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ EV ช่วยให้คุณประหยัดเงินได้จริง แต่นอกจากประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า ยังมี “ข้อด้อย” อื่น ๆ ที่รถยนต์ EV สู้ข้อดีของรถน้ำมันทั่วไปไม่ได้คือเรื่อง “ระยะเวลา” ในการรอชาร์จไฟตามสถานีอื่น ๆ กรณีที่ออกไปชาร์จนอกบ้านหรือถ้าหากชาร์จที่บ้านแต่ชาร์จในตอนกลางวัน อาจจะเสียค่าไฟแพงกว่าตอนกลางคืน หากคิดอยากจะเปลี่ยนมาใช้รถประเภทนี้จริง ๆ
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อสีย รถไฟฟ้า vs รถน้ำมัน
ข้อดี-ข้อสีย รถยนต์ไฟฟ้า
ประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า
- ประหยัดพลังงาน: จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าคือมีค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตรต่ำกว่ารถน้ำมัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.6 – 1 บาทต่อกิโลเมตร
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: รถไฟฟ้า EV ไม่มีการปล่อยมลพิษที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
- การบำรุงรักษาต่ำ: รถไฟฟ้า EV มีชิ้นส่วนอะไหล่น้อยกว่ารถน้ำมัน ทำให้การซ่อมบำรุงง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย
- เสียงเงียบ: อีกหนึ่งจุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าเครื่องยนต์ของรถไฟฟ้า EV มีเสียงที่เงียบกว่า ทำให้การขับขี่เงียบสงบ
ข้อเสียของรถไฟฟ้า EV
- ระยะเวลาชาร์จไฟ: การชาร์จไฟฟ้าใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมัน โดยเฉพาะการชาร์จที่บ้านอาจใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง
- สถานีชาร์จจำกัด: สถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้ต้องวางแผนการเดินทางล่วงหน้า
- ค่าใช้จ่ายแบตเตอรี่สูง: หากแบตเตอรี่มีปัญหา ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่อาจสูง
ข้อดี-ข้อสีย รถน้ำมัน
- เติมน้ำมันได้รวดเร็ว: ข้อดีของรถน้ำมันที่เด่นสุดๆ คือการเติมน้ำมันใช้เวลาไม่นานและมีปั๊มน้ำมันให้บริการมากมาย
- หาอะไหล่ง่าย: อีกหนึ่งข้อดีของรถน้ำมันอะไหล่ของรถน้ำมันมีมากและราคาถูกกว่า
- สมรรถนะการขับขี่: รถน้ำมันมีสมรรถนะการขับขี่ที่ดีและสามารถใช้งานได้ในทุกสภาพถนน
ข้อเสียของรถน้ำมัน
- ค่าใช้จ่ายพลังงานสูง: ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตรของรถน้ำมันสูงกว่ารถไฟฟ้า EV โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3 บาทต่อกิโลเมตร
- ปล่อยมลพิษ: รถน้ำมันปล่อยมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- การบำรุงรักษาซับซ้อน: รถน้ำมันมีชิ้นส่วนอะไหล่มากและเครื่องยนต์ซับซ้อน ทำให้การซ่อมบำรุงยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง
จากนี้หลายคนคงเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ “ประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า” พอสมควรแล้ว ในท้ายที่สุดคนที่จะสามารถตอบได้ว่า “ควรซื้อรถไฟฟ้าดีไหม” คือตัวคุณเอง แนะนำให้สำรวจไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมการใช้รถของตัวเองให้ดี ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อรถสักคัน พร้อมกับตอบตัวเองให้ได้ว่า “รถประเภทนี้เหมาะกับคุณอย่างไร ตอบโจทย์การใช้งานได้แค่ไหน” เพื่อให้คุณได้ครอบครองรถยนต์ที่ตรงใจมากที่สุด