ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์แบบง่ายๆ ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การต่อภาษีรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำทุกปีเพื่อให้รถยนต์ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะการต่อภาษีรถ ยังต่อเนื่องไปจนถึงการทำพรบ.รถ รวมทั้งการทำประกัน รวมถึงอาจต้องเสียค่าปรับหากถูกเรียกดู และยังมีโทษทางกฎหมายอีกด้วย มาดูขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์กัน

ภาษีรถยนต์คืออะไร?

ภาษีรถยนต์ คือ ภาษีประจำปีที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องชำระให้กับกรมการขนส่งทางบก โดยเจ้าของรถสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ก่อนวันครบกำหนด 30 วัน โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ หากต่อภาษีรถยนต์เกินกำหนด 30 วัน จะต้องเสียค่าปรับ 1% ของภาษีที่ต้องชำระต่อวัน ชำระสูงสุดไม่เกิน 25% ของภาษีที่ต้องชำระ

หากเจ้าของรถไม่สามารถไปต่อภาษีรถยนต์ด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของเจ้าของรถและผู้ที่มอบอำนาจ

อีกวิธีหนึ่งที่สะดวกและเป็นที่นิยม เนื่องจากไม่ต้องเดินทาง คือการยื่นต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th, แอป DLT Vehicle Tax, หรือแอป TrueMoney

ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์

เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน

ขั้นตอนแรกสำหรับวิธีต่อภาษีรถยนต์คือการตรวจสอบว่าเอกสารของเราครบถ้วน สำหรับคำถามว่าการต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง รายการข้างล่างคือเอกสารที่จำเป็นต้องใช้

  • พรบ. รถยนต์
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (ฉบับจริง หรือสำเนาก็ได้)
  • ใบตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี)
  • เอกสารรับรองการติดแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส)

ต่อภาษีรถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง?

  1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ โดยเลือกสำนักงานใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นจังหวัดเดียวกับที่จดป้ายทะเบียน
  2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  3. ที่ทำการไปรษณีย์ ค่าธรรมเนียม 40 บาท โดยป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่ระบุ
  4. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เฉพาะรถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี ค่าธรรมเนียม 60 บาท รวมค่าธรรมเนียมการให้บริการและค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ โดยป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่ระบุ 
  5. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” เฉพาะวันเสาร์-วันอาทิตย์
    • ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. โดยสาขาที่ให้บริการ ได้แก่ สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, บางใหญ่, บางนา, บางบอน, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, สุวินทวงศ์, และสมุทรปราการ
    • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่เวลา 11.00 – 18.00 น. 
    • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. โดยสาขาที่ให้บริการ ได้แก่ สาขาศาลายา, เวสต์เกต, และแจ้งวัฒนะ
    • ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น.
    • เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น.
  6. TrueMoney Wallet โดยเลือกเมนู Pay Bill และเลือกจ่ายบิลกรมขนส่งทางบก โดยป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่ระบุ
  7. ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th หรือแอป DLT Vehicle Tax โดยต้องลงทะเบียนเข้าใช้สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีออนไลน์ครั้งแรก สามารถทำตามขั้นตอนการยื่นชำระภาษีรถยนต์ ซึ่งมีช่องทางการชำระเงินหลายแบบ เช่น รหัส QR, บัตรเครดิตหรือเดบิต, หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 

หลังได้รับป้ายแล้ว อย่าลืมติดป้ายไว้กับรถยนต์

ป้ายสี่เหลี่ยมจะเป็นเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีของรถยนต์ จึงจำเป็นต้องติดให้สามารถเห็นได้ชัดเจน โดยควรติดที่ด้านในของกระจกด้านหน้ารถ และติดให้หันข้อความด้านหน้าของป้ายออกด้านนอกรถ และควรเช็คอีกครั้งว่าไม่ได้ติดป้ายกลับด้าน 

การต่อภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ และในปัจจุบันมีช่องทางต่างๆ มากมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่ทั้งแบบยื่นด้วยตัวเองและช่องทางออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับผู้ขับขี่จึงควรทำให้แน่ใจว่าได้ทำการยื่นภาษีรถยนต์ก่อนหมดเวลา โดยขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ยังจำเป็นสำหรับการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งจะช่วยให้ความคุ้มครองแก่ทั้งรถยนต์และผู้ขับขี่ที่มากขึ้นนอกเหนือไปจากพรบ.

แชร์บทความนี้